21st Century Skills



การจัดการเรียนรู้เพื่อรองรับศตวรรษที่ 21: แนวคิดทักษะแห่งอนาคต คุณลักษณะที่เด็กและเยาวชนพึงมีในโลกยุคใหม่

เกียรติศักดิ์ ชัยยาณะ Email: kiadtisak_chai@hotmail.co.th
นิสิตปริญญาเอก สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เกริ่นนำ...

นอกจากการขับเคลื่อนสถานศึกษาและเตรียมเยาวชนเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2558 แล้วกระแสการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อรองรับศตวรรษที่ 21 ของโลกตะวันตกที่นำเสนอมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2009 ก็เป็นประเด็นสำคัญที่นักการศึกษาไม่ควรละเลยและให้ความสำคัญไม่แพ้กัน ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21

หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21      ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R และ 4C ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้ Reading (การอ่าน), การเขียน (Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ 4 C (Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่ เครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือมีชื่อย่อว่าเครือข่าย P21 ได้พัฒนาวิสัยทัศน์เพื่อความสำเร็จของนักเรียนในระบบเศรษฐกิจโลกใหม่

ภาพ แสดงผลลัพธ์ของนักเรียนและปัจจัยส่งเสริมสนับสนุนในการจัดการเรียนรู้เพื่อรองรับศตวรรษที่ 21

จากการศึกษาบทความ เรื่อง Twenty-First Century Student Outcomes and Support Systems บนระบบออนไลน์ (สามารถเข้าถึงได้ที่ http://www.p21.org/storage/documents/P21_Framework_Definitions.pdf) ทำให้ทราบถึงองค์ประกอบของลักษณะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแสดงโมเดลเป็นรูป “รุ้ง” ดังภาพข้างต้น ได้แก่ ความรู้ ทักษะ ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อการก้าวสู่ความสำเร็จในการทำงานและชีวิต ดังนั้นครูควรจัดการศึกษาอย่างไรเพื่อรองรับในยุคแห่งศตวรรษนี้

ปัจจุบัน พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) โลกกำลังก้าวสู่ยุคศตวรรษที่ 22 แต่ทว่ากระแสการจัดการเรียนรู้เพื่อรองรับศตวรรษที่ 21 ยังเป็นสิ่งที่นิยม ทันสมัย และให้ความสำคัญอยู่ ณ ขณะนี้ ไม่น้อยไปกว่าการขับเคลื่อนสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนและการศึกษาระดับสากล (World Class Education) บทความเรื่อง “Twenty-First Century Student Outcomes and Support Systems” สะท้อนให้เห็นว่าเด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ควรมีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็นอะไรบ้าง ตลอดจนสิ่งต่างๆ ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ดังกล่าว ดังนั้นจึงเป็นแนวคิดมาสู่ครูผู้ปฏิบัติที่จะต้องปฏิรูปหลักสูตรให้สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎี ดังจะกล่าวต่อไปนี้

องค์ความรู้หลัก (Core Subjects) ที่มีความสำคัญในการจัดการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 ประกอบไปด้วย ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาแม่ (English) ทักษะการอ่าน (Reading) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และได้รับความรู้ต่างๆ มากมายเพิ่มเติม โดยเชื่อว่าการอ่านเป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ทักษะการใช้ภาษาอื่นๆ (Language Arts) ได้แก่ การฟัง การพูด และการเขียน ภาษาต่างประเทศ (World Language) ศิลปะ (Arts) คณิตศาสตร์ (Mathematics) เศรษฐศาสตร์ (Economics) วิทยาศาสตร์ (Science) ภูมิศาสตร์ (Geography) ประวัติศาสตร์ (History) การปกครองและหน้าที่พลเมือง (Government and Civics) สาขาวิชาในกลุ่มสังคมศาสตร์ (Social Science) ดังกล่าวมานี้ แตกต่างจากวิชาสังคมศึกษา (Social Studies) ซึ่งว่าด้วยเรื่องวิถีการดำเนินชีวิต (Way of Life) ของมนุษย์ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ยังมีประเด็นสำคัญในยุคศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็นต้องบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนโดยถักทอหรือประสานไปพร้อมกับองค์ความรู้หลัก จำแนกออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) ความตระหนักเกี่ยวกับโลก (Global Awareness) 2) ความรู้ความเข้าใจด้านการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy) 3) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่พลเมือง (Civic Literacy) 4) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพ (Health Literacy) และ 5) ความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy) นอกจากนี้ยังมีทักษะที่ต้องบูรณาการผสานในการเรียนการสอนในองค์ความรู้วิชาหลักควบคู่ไปกับ 5 ประเด็นสำคัญในยุคศตวรรษที่ 21 (ดังกล่าวมานี้) ดังนี้

1) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation) ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ 1) นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ (Creativity and Innovation) ประกอบด้วย การคิดอย่างสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ และการนำนวัตกรรมไปใช้ 2) การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ประกอบด้วย การมีเหตุผล การคิดอย่างเป็นระบบ การตัดสินใจ / ตัดสิน และการแก้ปัญหา 3) การสื่อสารและการร่วมมือกัน (Communication and Collaborative) ประกอบด้วย การสื่อสารที่ชัดเจน และการร่วมมือกับผู้อื่น
2) ทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร สื่อ และเทคโนโลยี (Information, Media and Technology Skills) ประกอบด้วย การอ่านออกเขียนได้ด้านข้อมูลข่าวสาร สื่อ และ ICT (Information, Communications and Technology)
3) ทักษะชีวิตและการประกอบอาชีพ (Life and Career Skills) เด็กในศตวรรษที่ 21 ควรมีทักษะที่ยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวได้ ริเริ่มและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะทางสังคมและก้าวข้ามวัฒนธรรม มีความรับผิดชอบ และสามารถผลิตสร้างสรรค์งานได้ ตลอดจนมีความเป็นผู้นำและรับผิดชอบต่อสังคม

Here are Online Resources According to 21st Century Skills:
Collected by Kiadtisak CHAIYANA
E mail: kiadtisak_chai@hotmail.co.th

Website:
Video:

No comments:

Post a Comment